
อุทยาน
แห่งชาติตาดโตน อุทยาน แห่งชาติตานโตน ตั้งอยู่ในตำบลนาฝาย ตำบลท่าหินโหม ตำบลห้วยต้อน
และตำบลนาเสียว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาภูแลนคา
มีเนื้อที่รวมประมาณ 217 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญ คือ
ลำปะทาว และจะไหลรวมกับแม่น้ำชี มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ได้แก่
น้ำตกตาดโตน น้ำตกตาดฟ้า และน้ำตกผาเอียง น้ำตกตาดโตน
เป็นน้ำตกที่สวยงามใกล้ที่ทำการอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี
โดยเฉพาะในฤดูฝนจะสวยงามเป็นพิเศษ มีความสูงประมาณ 6 เมตร และกว้าง 50 เมตร
ด้านบนเป็นธารน้ำไหลผ่านลานหินสองฝั่งธารร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่
เหมาะที่จะนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติและเล่นน้ำ ศาลเจ้าพ่อตาดโตน (ปู่ด้วง)
และศาลย่าดี ตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกตาดโตน
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตน
ซึ่งชาวจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดใกล้เคียงเคารพนับถือ ประวัติเล่าว่า
ปู่ด้วง ท่านเป็นคนเชื้อสายเขมร ดำเนินชีวิตอยู่ในยุคเดียวกับเจ้าพ่อพญาแล
ท่านประพฤติตนเป็นชีปะขาวยึดมั่นในสมถะ กรรมฐาน ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด
มีความรู้ความสามารถในการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ประกอบกับคาถาเวทย์มนต์อันศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
ได้ช่วยเหลือผู้คนที่บาดเจ็บจนเป็นที่นับถือของราษฎรเป็นจำนวนมาก
เมื่อท่านถึงแก่กรรมจึงมีการสร้างศาลขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพสักการะ
นอกจากนี้ยังมีศาลปู่ด้วงที่ช่องสามหมอ และที่วัดชัยภูมิพิทักษ์อีกด้วย
ซึ่งปัจจุบันมีประเพณีรำผีฟ้า ผีทรง รำบวง-สรวงเจ้าพ่อปู่ด้วงทุกวันพุธ
และมีการบวงสรวงใหญ่ปีละ 4 ครั้ง คือ วันขึ้น 4 ค่ำเดือน 3 วันขึ้น 14
ค่ำเดือน 4 วันแรม 2 ค่ำเดือน 8 และวันแรม 2 ค่ำเดือน 11 น้ำตกตาดฟ้า
อยู่ที่ตำบลนาเสียว ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ประมาณ 13
กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 4กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านนาวัง แยกขวาอีก 4
กิโลเมตร เมื่อถึงลานจอดรถต้องเดินเท้าอีก 300 เมตร
เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่เชิงเขาภูอีเฒ่า
ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตนด้านตะวันออก ลักษณะเป็นลานหินกว้างประมาณ 15-20
เมตร ยาวโดยตลอด 80-90 เมตร ลาดชันประมาณ 30 องศา
ลักษณะคล้ายกระดานลื่นธรรมชาติ มีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งน้ำแห้ง
ตอนล่างมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ น้ำตกผาเอียง ตั้งอยู่ที่บ้านชีลอง
ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตนด้านตะวันตก เป็นน้ำตกขนาดกลาง
เกิดจากลำห้วยชีลอง
มีลักษณะเป็นหน้าผาเอียงตัดลำห้วยและทำให้เกิดเป็นน้ำตกไหลเอียงไปด้านหนึ่ง
บริเวณโดยรอบเป็นป่าดิบแล้งค่อนข้างหนาทึบและยังมีไม้ขนาดใหญ่อยู่มาก
ทำให้บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน
นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกสองแห่งในบริเวณนี้คือ น้ำตกผานิต
อยู่ก่อนถึงน้ำตกผาเอียง 500 เมตร และน้ำตกผาสองชั้น
ซึ่งต้องเดินเท้าประมาณ 1,200 เมตร ฤดูท่องเที่ยวคือช่วงฤดูฝน การเดินทาง
จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) ประมาณ 27
กิโลเมตร เลี้ยวขวา 2 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถ เดินเท้าต่ออีก 800 เมตร
การเดินทาง จากตัวเมืองทางหลวงหมายเลข 2159 และแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข
2051 ระยะทางจากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร
หรืออาจใช้เส้นทางหมายเลข 201 ทางไปอำเภอภูเขียว จะมีเส้นทางแยกซ้ายอีก
21กิโลเมตรไปน้ำตกตาดโตนได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสาร
สามารถใช้บริการรถสองแถวสายชัยภูมิ-ท่าหินโงม
ลงที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมแล้วเดินเท้าอีก 1 กิโลเมตร
อุทยานฯมีบริการบ้านพัก
สอบถามรายละเอียดได้ที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562
0760 หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติตาดโตน โทร. 0 4485
3293,0 4485 3333 www.dnp.go.th แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานแห่งชาติไทรทอง
อุทยาน
แห่งชาติไทรทอง ครอบคลุมพื้นที่ป่าบนเทือกเขาพังเหย ในอำเภอหนองบัวระเหว
เทพสถิต ภักดีชุมพล และหนองบัวแดง มีเนื้อที่ 319 ตารางกิโลเมตร
เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสายซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำชี
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ผสมกับป่าเบญจพรรณ
มีต้นไผ่รวกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม ภายในเขตอุทยานฯ
มีสถานที่น่าสนใจคือ
น้ำตกไทรทอง
ห่างจากที่ทำการ 1 กิโลเมตรไปตามทางรถยนต์และเดินเท้าอีก 400 เมตร
เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ สูงเพียง 5 เมตรแต่มีความกว้างประมาณ 80 เมตร
ด้านหน้าเป็นแอ่งน้ำใหญ่ สามารถลงเล่นน้ำได้
เหนือน้ำตกมีวังน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า วังเงือก
สายน้ำไหลไปตามแก่งหินที่ลาดต่ำลงที่ละน้อย มีความยาวไม่ต่ำกว่า 100 เมตร
ในบริเวณนั้นจะมีต้นกระบากพันปี เป็นต้นไม้ที่ใหญ่มาก
นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้
น้ำตกชวนชม อยู่เหนือน้ำตกไทรทองไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 กิโลเมตร น้ำตกมีความสูง 20 เมตร รอบบริเวณมีต้นไม้ร่มรื่น
ผา
พ่อเมือง เป็นแนวหน้าผาตามสันเขาพังเหยด้านตะวันตก
ตามเส้นทางขึ้นสู่ทุ่งบัวสวรรค์ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700-900 เมตร
มองลงไปเป็นตัวอำเภอภักดีชุมพลและเทือกเขาพญาฝ่อ
ที่กั้นระหว่างชัยภูมิกับเพชรบูรณ์
ผาหำหด
ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 10 กิโลเมตร
เป็นสันเขาตรงจุดสูงสุดของเทือกเขาพังเหย สูงจากระดับน้ำทะเล 864 เมตร
เป็นจุดชมวิวมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม และมีชะง่อนหินยื่นออกไปจากหน้าผา
เป็นจุดที่ถ่ายภาพได้สวยงามน่าหวาดเสียว
ทุ่งบัวสวรรค์
หรือ ทุ่งดอกกระเจียว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กิโลเมตร
ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม
ต้นกระเจียวจะออกดอกสวยงามเต็มทุ่ง มีทั้งดอกสีชมพูและสีขาว นอกจากนี้
ในช่วงฤดูหนาว
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคมบริเวณนี้จะมีพรรณไม้จำพวกดุสิตา สร้อยสุวรรณา
กระดุมเงิน กระดุมทอง ขึ้นอยู่ทั่วบริเวณ
การเดินทางไปทุ่งดอกกระเจียวสามารถขับรถหรือเช่ารถกระบะจากที่ทำการอุทยานฯ
ไปยังลานจอดรถและลานกางเต็นท์ ระยะทาง 9 กิโลเมตร ค่าเช่ารถคันละ ประมาณ
500 บาทและจากนั้นเป็นเส้นทางเดินเท้าผ่านผาพ่อเมือง ผาหำหด ผาเพลินใจ
ทุ่งบัวสวรรค์ 2 (ดอกกระเจียวสีชมพู) ทุ่งดอกกระเจียวขาว ผาอาทิตย์อัสดง
ตามลำดับ ระยะทางเดินเท้าจากลานจอดรถไปผาหำหด 300 เมตร
และไปทุ่งบัวสวรรค์สีชมพูและสีขาว เป็นระยะทางอีก 1,300 เมตร และ 700 เมตร
ตามลำดับ ช่วงที่มีดอกกระเจียวเป็นช่วงฤดูฝน
ควรเตรียมร่มหรือเสื้อกันฝนติดตัวไปด้วย
หินเทิน เป็นก้อนหินขนาดใหญ่ขนาดกว้าง 10 เมตร สูง 5 เมตร ตั้งอยุ่บนก้อนหินที่เล็กกว่ากันมากได้อย่างสมดุลโดยไม่ร่วงหล่น
จุด
ชมวิวเขาพังเหย อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์)
ประมาณกิโลเมตรที่ 70
เป็นที่แวะพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ของผืนป่าและแนวสันเขาสลับซับซ้อนของเขา
พังเหย
เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นที่ราบภาคกลางในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นบริเวณ
กว้าง โดยเฉพาะในช่วงยามเย็นที่อาทิตย์จะอัสดง
อุทยานฯ
มีบ้านพักรับรองและสถานที่กางเต็นท์พักแรม และร้านอาหารบริการ
ติดต่ออุทยานแห่งชาติไทรทอง ตู้ ปณ. 1 อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
36230 โทร. 08 9282 3437
www.dnp.go.th
การเดินทาง
จากตัวเมืองชัยภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณ 65 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางแยกขวาไปที่ทำการอุทยานฯอีก 7 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
อนุสาวรีย์พระยาพักดีชุมพล (แล)
อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล)
ชาวบ้านเรียกว่าอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ตั้งอยู่กลางวงเวียนศูนย์ราชการ
ในตัวเมือง
ชาวชัยภูมิได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ตาม
ประวัติเล่าว่า ในปี 2360 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 นายแล
ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
ได้อพยพครอบครัวและบริวารข้ามลำน้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านน้ำขุ่น
บริเวณอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน
ต่อมาจึงได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่โนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง
ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร ได้ส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
ต่อมาจึงย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ในเขตอำเภอเมืองปัจจุบัน
และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา ส่งส่วยแก่รัชกาลที่ 3
ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป จึงโปรดเกล้าฯ
ยกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้ง ขุนภักดีชุมพล (แล)
เป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ครั้น พ.ศ. 2369
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ก่อการกบฎ ยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา
ขุนภักดีชุมพลพร้อมเจ้าเมืองใกล้เคียงยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโม
ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย
เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงย้อนกลับมาจับขุนภักดีชุมพลประหารชีวิตที่บริเวณ
ใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า
ด้วยความดีที่ขุนภักดีชุมพลมีต่อแผ่นดินไทยจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เป็น พระยาภักดีชุมพล (แล)
จังหวัดชัยภูมิจัดงานประจำปีเจ้าพ่อพญาแลในราวเดือนมกราคมของทุกปี
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
มอหินขาว
มอหินขาวเป็น
แหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคาตั้งอยู่ที่บ้านวังคำแคน หมู่ 9
ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง
เป็นกลุ่มหินทรายสีขาวขนาดใหญ่กลางทุ่งหญ้าบนเนินเขา
มองเห็นได้เด่นชัดในระยะไกล ลักษณะคล้ายสโตนเฮ็นจ์ (Stonehenge)
ของประเทศอังกฤษ มีอายุระหว่าง 197-175 ล้านปี
เกิดจากการสะสมของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวจากทางน้ำ
ต่อมาสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง การตกตะกอนเปลี่ยนเป็นทราย
ในสภาวะอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งร้อนชื้นทับถมลงบนตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวที่
เกิดก่อนจึงแข็งตัวกลายเป็นหิน หลังจาก 65 ล้านปีที่ผ่านมา
เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกจากแรงบีบด้านข้างทำให้มีการคดโค้ง แตกหัก
ผุพังและการกัดเซาะทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการของผู้พบเห็น
บริเวณรอบๆนั้นยังมีกลุ่มหินอีกหลายแห่งซึ่งสามารถเดินศึกษาธรรมชาติได้
ทั้งยังเป็นพื้นที่ศึกษาสังคมของพันธุ์พืชต่างๆ สัตว์ป่าขนาดเล็ก
แมลงและเป็นแหล่งป่าต้นน้ำลำธารภูแลนคาซึ่งชาวบ้านทำฝายกั้นน้ำกักเก็บไว้
ใช้
และรอบ ๆ บริเวณที่ทำการหน่วยพิทักษ์ฯ
ชั่วคราว มอหินขาว มีพื้นที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
เต็นท์เช่าราคา 100 บาท/คืน พักได้ 2 คน
ในกรณีที่นำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์
การเดินทาง
ไปชมแหล่งท่องเที่ยวผามอหินขาว จากตัวจังหวัดชัยภูมิ
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2051 ถนนสายชัยภูมิ – ตาดโตน
เป็นทางลาดยางระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร
เลี้ยวซ้ายก่อนถึงด่านของอุทยานแห่งชาติตาดโตน ตามถนนตาดโตน – ท่าหินโงม
เป็นทางลาดยางประมาณ 12 กิโลเมตร แยกซ้ายตามถนนแจ้งเจริญ – โสกเชือก
เป็นทางลูกรัง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตรถึงบ้านวังคำแคน
จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบ้านวังคำแคน เป็นทางลูกรังใช้สำหรับขนพืชไร่อีกประมาณ
3.5 กิโลเมตร ถึง กลุ่มหินชุดแรกของ มอหินขาว รวมระยะทางประมาณ 40
กิโลเมตรจากตัวเมือง
ในช่วงฤดูฝนควรใช้รถยนต์ประเภทรถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ
เพื่อความเหมาะสมกับเส้นทาง
ถัดจากกลุ่มหินชุดแรกไปเล็กน้อยจะถึงบริเวณลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำบริการ
จากจุดนี้มีเส้นทางเดินไปยังกลุ่มหินและจุดชมวิว ได้แก่ หินเจดีย์โขลงช้าง
ระยะทางเดินเท้า 650 เมตร ลานหินต้นไทร 900 เมตร สวนหินล้านปี 1,250 เมตร
และจุดชมวิวผาหัวนาค 2,500 เมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
พระธาตุหนองสามหมื่น
พระ
ธาตุหนองสามหมื่น
เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ
ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80
กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9
กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5
กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ
ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด
เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกัน
ระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22
ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว
พระธาตุหนองสามหมื่นมี
ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน
เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา
ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ
ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก
จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16
ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง
โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่
วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14
และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย
นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก 2 ชิ้น
สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
การเดินทาง
จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201
ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร
เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9
กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5
กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
พระธาตุกุดจอก
พระธาตุกุดจอก ตั้งอยู่ที่บ้านยางน้อยตำบล
บ้านยาง ประกอบด้วยเจดีย์ก่ออิฐ 2 องค์
องค์แรกมีเรือนธาตุกลวงภายในมีพระพุทธรูปหินปูนขนาดใหญ่
และพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย
องค์ที่สองเป็นธาตุรูปสอบปลายแหลมคล้ายพระธาตุพนม
ธาตุเจดีย์องค์นี้มีฐานสูงประมาณ 5 ชั้นเป็นมุขยื่นและเป็นมุมสวยงาม
ลักษณะของธาตุทั้งสององค์เป็นสถาปัตยกรรมแบบลาวมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ
ที่ 19-20
ปัจจุบันมีสำนักสงฆ์อยู่บริเวณพระธาตุพระธาตุกุดจอกอยู่ห่างจากอำเภอเกษตร
สมบูรณ์ประมาณ 3 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากเมืองชัยภูมิประมาณ 78 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
ผาเกิ้ง
เป็น
ส่วนหนึ่งของภูแลนคา หากเดินทางมาตามเส้นทางชัยภูมิ-หนองบัวแดง
จะเห็นหน้าผาสูงริมทางคล้ายพระจันทร์เสี้ยวยื่นออกมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า
ผาเกิ้ง ซึ่งหมายถึงพระจันทร์ในภาษาอีสาน
บนเขามีวัดผาเกิ้งหรือวัดชัยภูมิพิทักษ์ตั้งอยู่
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชัยภูมิพิทักษ์
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง 14 เมตร
ด้านหน้าองค์พระเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมองเห็นทัศนียภาพของทุ่งนาได้กว้างไกล
ผาเกิ้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 36 กิโลเมตรบนหลวงหมายเลข 2159
(ชัยภูมิ-หนองบัวแดง)
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
ปรางค์กู่
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 202
(ชัยภูมิ-บัวใหญ่) ประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวง
2158 เป็นระยะทางอีก 2 กิโลเมตร
ปรางค์กู่เป็นปราสาทหินสมัยขอมที่มี
แผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทอื่นที่เป็น อโรคยาศาล
หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 นั่นคือ
มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง
ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1
สระ ปรางค์ประธานมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง
ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3
ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่
จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล
ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง
ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกันแต่ลบเลือนไปมาก
ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวารวดี สูง
1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ โดยเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
ชาวชัยภูมิให้การเคารพสักการะ มีการจัดงานประจำปีในช่วงกลางเดือน 5
ของทุกปี
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
น้ำตกเทพพนา
น้ำตก
เทพพนาอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยกระโจนที่ไหลจากเทือกเขาพังเหย
แบ่งเป็นสามชั้นลดหลั่นกัน ชั้นบนสุดมีความสูงประมาณ 2-3 เมตร ชั้น 2
สูงประมาณ 2-3 เมตร และชั้นสุดท้ายมีความสูงประมาณ 6 เมตร
จะมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
น้ำตกเทพประทาน
น้ำตก
เทพประทานตั้งอยู่ตำบลบ้านไร่ อยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๗
กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง ลักษณะค่อนข้างแบน
มีหินขนาดใหญ่เป็นลานกว้างลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นเตี้ย ๆ
และมีดอนที่สูงชันอยู่แห่งหนึ่ง มีน้ำมากในช่วงฤดูฝน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
ถ้ำแก้ว
จากอำเภอภักดีชุมพลไปทางทิศเหนือ 9
กิโลเมตร ตามทางหลวง 2359 ถึงบ้านซับเจริญมีทางแยกซ้ายไปอีก 5 กิโลเมตร
ถ้ำแห่งนี้อยู่ภายในบริเวณวัดถ้ำแก้ว
ลักษณะของถ้ำคล้ายห้องโถงลึกลงไปในภูเขา บรรยากาศเย็นและชื้นตลอดเวลา
มีไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในถ้ำ จากปากถ้ำมีทางเดินลงลึกไปถึงด้านล่าง
ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ และมีหินย้อย อยู่ตามผนังถ้ำ
เมื่อต้องแสงเกิดเป็นประกายแวววาวสวยงาม
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม)
เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระอำเภอ
คอนสาร สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย
ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนกลางเป็นดินเหนียว ตัวสันเขื่อนยาว 700
เมตร ความสูงจากฐานราก 70
เมตรเป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย
(กฟผ.)โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและยังอำนวยประโยชน์ในด้าน
เกษตรกรรมในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย
นอกจากนี้บริเซรโดยรอบของเขื่อนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกคือ
พระพุทธสิริสัตตราชจำลอง (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)ประดิษฐานที่บริเวณหัวเขื่อนฝั่งซ้าย ตรงข้ามสวนเขื่อนจุฬาภรณ์
สวน
เขื่อนจุฬาภรณ์ ตกแต่งเป็นป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่ประมาณ 41
ไร่มีไม้ป่านานาชาติพร้อมศาลาพรมพิสมัยสำหรับนั่งพักผ่อนทางเดินภายในสวนปู
พื้นด้วยหินธรรมชาติ มีพืชโบราณ 325 ล้านปี เป็นพืชตระกูลหญ้ามี 2
สายพันธุ์ คือ สามร้อยยอดและสนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง
ศาลาชมวิวหลุบควนเป็นจุดชมวิวอยู่ที่ระดับความสูง 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและแคมป์ไฟ บริเวณริมอ่างเก็บน้ำ
สถาน
ริมน้ำข้างพระตำหนัก มีบรรยากาศสงบร่มรื่น
สามารถมองเห็นสันเขื่อนได้นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆอีกเช่น
ทุ่งกะมังสถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว
สวนรุกขชาติน้ำผุดทับลาวถ้ำค้างคาวภูผาม่าน เป็นต้น
บริเวณเขื่อนมีทิวทัศน์ที่งดงาม อากาศเย็นสบายตลอดปีจึง
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิภายในบริเวณ
เขื่อนมีบ้านพัก
ร้านอาหารไว้รับรองนักท่องเที่ยวเรือสำหรับให้ล่องชมอ่างเก็บน้ำ
มีจุดชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อนศูนย์ทดลองพืชเมืองหนาว และหอดูดาว
ติดต่อบ้านพักรับรองของกฟผ. โทร. 0 2436 6046-8, 0 4486 1669 ต่อ 2287
,2293 บริการสนามกอล์ฟ ติดต่อได้ที่ โทร. 0 4338 4969 ต่อ
2630การ
เดินทางไปเขื่อนจุฬาภรณ์ จากตัวเมืองชัยภูมิ
ใช้เส้นทางสายชัยภูมิ-ชุมแพ(ทางหลวงหมายเลข 201) ถึงทางแยกหนองสองห้อง
เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2055 รวมระยะทางจากตัวเมืองชัยภูมิประมาณ
120 กิโลเมตรหรือหากเดินทางมาตามเส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข
12) เมื่อถึงบริเวณอำเภอคอนสารมีทางแยกไปเขื่อนจุฬาภรณ์อีก 39 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
เขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง
ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า
เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น
โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ
สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง
ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช มีเนื้อที่ 830
ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ.
2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่างๆ
มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลง
ทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง
บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ
การเดินทาง
ไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก
24 กิโลเมตร
การเข้ามาทัศนศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีสองกรณีคือ
หากเข้าชมแบบไป-กลับวันเดียว
สามารถขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่บริเวณด่านตรวจปางม่วง
กรณีพักค้างแรมต้องได้รับอนุญาตจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้
กรุงเทพฯโดยตรง
ทางเขตฯค่อนข้างเคร่งครัดในกฎระเบียบเพราะสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้
และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาในพื้นที่ก็เสมือนการเข้ามารบกวนธรรมชาติ
ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าจริงๆ และทางเขตฯ
ไม่เปิดให้เข้าทัศนศึกษาในช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org